วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 12

โปรแกรม SPSS เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติอีกโปรแกรมหนึ่ง
-การเริ่มต้นสู่โปรแกรม เมื่อคลิกที่โปรแกรม SPSS จะเข้าสู่โปรแกรมดังรูป ซึ่งหากมีแฟ้มข้อมูลเดิม จะสามารถเลือกจากหน้าต่างนี้ หากต้องการเริ่มต้นใหม่ ให้คลิก Cancel เพื่อเข้าสู่ส่วนตารางทำงาน หรือที่เรียกว่า Data Editor
ข้อกำหนดโปรแกรมทั่วไป
SPSS แบ่งส่วนที่ใช้ป้อนข้อมูลเป็น sheet 2 ส่วน หรืออาจเรียกเป็น Tab ได้แก่
Data View : เป็นส่วนสำหรับใส่ข้อมูล ซึ่งแสดงชื่อตัวแปรเป็น Var ทุกคอลัมน์เมื่อทำการป้อนข้อมูล จะเปลี่ยนเป็น Var00001 Var00002 … หากต้องการกำหนดชื่อตัวแปรเป็นอย่างอื่น ให้เลือกที่ Variable View จาก Sheet Tab ส่วนแถวจะอ้างอิงตั้งแต่ 1, 2, 3 ไปเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตัวอักษรที่แสดงชื่อตัวแปรหรือแถว มีขนาดเล็กมองไม่สะดวก สามารถเปลี่ยนได้โดยการเลือกเมนู View \ Fonts… เพื่อเลือกชนิดอักษรและขนาดตามต้องการ ( แนะนำให้ใช้ MS San Serif ขนาด 10 point)
Variable View : เป็นส่วนที่กำหนดลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของตัวแปร ได้แก่ ชื่อตัวแปร ( มีได้ไม่เกิน 8 ตัวอักษรรวมตัวเลข โดยห้ามเว้นช่องว่างหรือวรรค และห้ามมีสัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น วงเล็บ เครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น ) จำนวนทศนิยมความกว้างของคอลัมน์ Label ( ใช้ระบุรายละเอียดของตัวแปรซึ่งจำกัดเพียง 8 ตัวอักษร แต่ Label สามารถพิมพ์ข้อความได้มากกว่า รวมทั้งมีช่องว่างหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ได้ ) เป็นต้น
•การนำข้อมูลเข้าสู่ Work sheet หรือ Data Editor
สำหรับการนำข้อมูลเข้าสู่ Data Editor สามารถทำได้หลายวิธี แต่ 2 วิธีที่นิยม ได้แก่
•การเปิดไฟล์จากไฟล์ประเภทอื่น โดยโปรแกรม SPSS สามารถที่จะเปิดไฟล์ได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์จากโปรแกรม Excel, Lotus, Sysstat หรือ Dbase สามารถเปิดได้โดยใช้เมนู File \ Open \ Data จากนั้นเลือกชนิดของไฟล์ เลือก Drive และ Folder ให้ถูกต้อง
•การป้อนข้อมูลโดยตรง ในการป้อนข้อมูล หากต้องการป้อนข้อมูลเข้าอย่างโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ใน Data Editor สามารถทำการ Copy และ Paste ข้อมูลในลักษณะของ Spread sheet ทั่วไปได้ ทำให้สะดวกต่อการใช้ป้อนข้อมูล
•เมนูสำหรับการวิเคราะห์ผลทางสถิติ ในการวิเคราะห์นั้น จะใช้เมนู Statistics โดยจะมีเมนูย่อยที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติต่าง ๆ เช่น Descriptive Statistics, Compare Mean, General Linear Model, Correlation หรือ Regression เป็นต้น

ใบงานที่ 11

อาจารย์มีความมุ่งมั่นที่จะมอบความรู้ให้กับนักศึกษา มีความคาดหวังว่านักศึกษามีความสามารถที่จะทำได้ตามที่อาจารย์สอน นักศึกษาดีใจที่มีอาจารย์ที่ทุ่มเทให้กับนักศึกษาอย่างนี้ ขอให้อาจารย์มีความสุขมากๆครับ

ใบงานที่ 9

คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพ
1.ความหมาย
มืออาชีพ หมายถึง การทำงานด้วยความรู้ความสามารถ ความตั้งใจจริงและทำงานให้เกิดผลงานดีที่สุด
2.คุณลักษณะของการเป็นมืออาชีพ
คือ คุณลักษณะหรือพฤติกรรมของผู้ประกอบอาชีพที่มีแนวปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความ สำเร็จ เช่น ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน ตรงต่อเวลา เป็นคนเก่ง เป็นคนดี มีความกล้าหาญ รับผิดชอบ ตัดสินใจอย่างชาญฉลาด สุภาพ ตรงต่อเวลา รู้จักแสวงหากัลยาณมิตร ใช้คุณธรรมเป็นเครื่องชี้นำอาชีพ ฝึกฝนพัฒนาตนเองอยู่เสมอเป็นต้น

3.นัก บริหารมืออาชีพ คือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงาน กิจการต่าง ๆ ให้สำเร็จ โดยอาศัยความรู้ความสามารถของตนเองและความร่วมมือของผู้อื่น ลักษณะเด่นของผู้บริหารมืออาชีพมีดังนี้
3.1 มีความรอบรู้ทันต่อเหตุการณ์
3.2 มีการตัดสินใจที่ดี รวดเร็ว แม่นยำและถูกต้อง
3.3 จับประเด็นได้รวดเร็ว ออกความเห็นได้
3.4 ยอมรับการเปลี่ยนแปลงพร้อมที่จะปรับตัว
3.5 มีระเบียบ ละเอียดรอบคอบ เคร่งครัดเรื่องเวลา
3.6 ซื่อสัตย์มีคุณธรรม ยึดมั่นในจรรยาวิชาชีพ
3.7 เชื่อมั่นในตนเอง มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถประสานงานได้เยี่ยม

ใบงานที่ 8

1.ความหมายของคำว่าสถิติ (Statistics) หมายถึง
ตัวเลขที่ใช้บรรยายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริง (facts) ของเรื่องต่างๆ ที่เราต้องการศึกษา เช่น สถิติจำนวนผู้ป่วย สถิติจำนวนคนเกิด สถิติจำนวนคนตาย เป็นต้น

2.ค่าเฉลี่ย หรือค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic mean) คือค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั้งหมด ความหมาย
เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ค่ามัธยฐาน (Median) คือค่าของข้อมูลที่จุดกึ่งกลางของการกระจายของข้อมูลโดย 50% ของข้อมูลมี ค่าสูงกว่าค่า มัธยฐาน และ 50% มีค่าต่ำกว่าค่ามัธยฐาน และมักใช้ในกรณีที่ การกระจายของข้อมูลมีลักษณะไม่เท่ากันทั้งสองข้าง (Asymmetry) หรือมีลักษณะเบ้ไปทางซ้ายหรือทางขวาเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ค่าฐานนิยม (Mode) คือค่าของข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุดในข้อมูลของชุดนั้นๆ ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งค่าหรือไม่มีเลยก็ได้ เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายของข้อมูลว่าจะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยมากน้อยเท่าใด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย

3.ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มสมาชิกทั้งหมดที่ต้องการศึกษา อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ใช้สัญลักษณ์ “N” แทนจำนวนประชากร
กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มสมาชิกที่ถูกเลือกมาจากประชากรด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพื่อเป็นตัว แทนในการศึกษาและเก็บข้อมูล ใช้สัญลักษณ์ “n” แทนสมาชิกของกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างต่างกัน เพราะกลุ่มตัวอย่างเป็นเพียงสมาชิกส่วนหนึ่งของประชากรที่ถูกคัดเลือกมาใช้ ในการศึกษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น ถ้าครุผู้สอนต้องการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ม.2 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ซึ่งนักเรียนมีจำนวนมาก ครูผู้สอนในฐานะนักวิจัยไม่สามารถศึกษาจากประชากร(นักเรียนชั้น ม.2)ทั้งหมดได้จึ้งคัดเลือกนักเรียนชั้น ม.2 มาบางส่วนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่า
จะเป็น โดยใช้ตารางเลขสุ่ม หรือคำนวนด้วยสูตรอื่นๆ ผลที่ได้จากการศึกษาจะอ้างอิงไปสู่ประชากรทั้งหมดได้
4. มาตรนามบัญญัติ (Nominal Scale)
-เป็นมาตรวัดที่หยาบที่สุด จัดข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆ แยกตามประเภทหรือชนิด
-สถิติ : ความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม หรือใช้สถิติแบบนอนพาราเมตริก
-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่ไม่มีขนาด ไม่มีความเท่ากันของช่วง และไม่มีศูนย์สมบูรณ์
มาตรเรียงลำดับ (Ordinal Scale)
-เป็นมาตรวัดที่ใช้กับข้อมูลที่สามารถจัดเรียงอันดับความสำคัญหรือสามารถเปรียบเทียบกันได้
-สถิติ : ฐานนิยม มัธยฐาน พิสัย เปอร์เซนต์ไทล์ และสถิติแบบนอนพาราเมตริก
-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีการจัดลำดับข้อมูลจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมากได้ แต่ไม่ได้บอก
ถึงปริมาณแต่ละอันดับว่ามากน้อยเท่าใด ไม่มีความเท่ากันของช่วงคะแนน และไม่มีศูนย์สมบูรณ์
มาตรอันตรภาค (Interval Scale)
-เป็นมาตรวัดที่สามารถบอกได้ทั้งทิศทางและขนาดของ ความแตกต่างของข้อมูล มาตรวัดนี้ไม่มีศูนย์ที่แท้จริง
(absolute zero)
-สถิติ : ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
-ตัว แปร : เป็นตัวแปรที่สามารถบอกระยะห่างของตัวเลข 2 ตัว ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเท่าใด มีเกณฑ์อยู่กับสิ่งที่เรียกว่าศูนย์สมมติ
มาตรอัตราส่วน (Ratio Scale)
-เป็นมาตรวัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ทุกอย่าง ดีกว่ามาตรวัดอันตรภาคตรงที่มาตรการวัดนี้มีศูนย์
ที่แท้จริง
-สถิติ : สถิติที่ใช้กับการวัดในระดับนี้ใช้ได้ทุกวิธีที่มีอยู่
-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีระดับการวัดเหมือนมาตราอันตรภาค และมีศูนย์สมบูรณ์ ข้อมูลที่
เป็นอัตราส่วนสามารถนำมาบวก ลบ คูณ หาร ได้ และสามารถใช้ได้กับสถิติทุกประเภท

5. ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนค่าไปได้หลายค่า เป็นลักษณะคุณภาพ คุณสมบัติของบุคคล สิ่งของ หรือสิ่งที่สนใจจะนำมาศึกษาที่สามารถนับได้ วัดได้ หรือหมายถึง สิ่งที่แปรเปลี่ยนไปตามระยะเวลา แปรเปลี่ยนได้หลายค่า หรือมากกว่า 1 ลักษณะ เช่นเชื้อชาติ แปรค่าได้เป็น ไทย , จีน , ….

ตัว แปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) เป็นตัวแปรเหตุที่ทำให้ผลตามมา หรือทำให้สิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะ หรือ แปรสภาพไป ตัวแปรต้นจะมีลักษณะ เป็นตัวแปรเหตุ เป็นตัวแปรที่มาก่อน เป็นตัวแปรที่จัดกระทำในการทดลอง มีลักษณะเป็นตัวทำนาย เป็นตัวกระตุ้น
หรือ มีความคงทน ถาวร

ตัวแปรตาม (dependent variable) เป็นตัวแปรที่มีผลมาจากตัวแปรต้น ซึ่งตัวแปรตามจะมีลักษณะ เป็นตัวแปรที่เป็นผล
เกิดขึ้นภายหลัง เกิดขึ้นเองไม่สามารถจัดกระทำได้ในการทดลอง เป็นตัวถูกทำนาย เป็นตัวตอบสนอง เปลี่ยนแปลงได้ง่าย
ตัวอย่าง เช่น การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ม.2 โดยใช้การสอนตามคู่มือครูกับการสอนโดยการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะทางภาษา อังกฤษแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา
ตัวแปรต้น คือ การสอนตามคู่มือครูกับการสอนโดยการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา
ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ

6.สมมติฐาน คือ การคาดการณ์ผลการวิจัยไว้ล่วงหน้าโดยมีทฤษฎีหรือข้อค้นพบจากผลงานวิจัยที่ ผ่านมามารองรับ เป็นคำตอบที่คาดการณ์ไว้ก่อนที่จะดำเนินการวิจัยจริง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- สมมติฐานการวิจัย เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้นมักจะเขียนในเชิงความเรียงธรรม
- สมมติฐานทางสถิติ เป็นการนำข้อความจากสมมติฐานการวิจัยมาเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ทางสถิติ

7. T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้
F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป
T-test และ F – test เหมือนกันคือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ต่างกันคือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป

ใบงานที่ 7

การทำ Wedboard ให้สวยงาม

การใส่ Glitter ใน Blog
1.คลิกเลือก tab “โค้ด HTML”
2.จากนั้นจึงนำโค้ด embed ของ Glitter ที่เราต้องการใส่ลงไป
ตัวอย่างโค้ด embed จากเว็บไซต์ http://widget.sanook.com
3.เมื่อคลิกกลับมาที่ tab “มุมมองปรกติ” อีกครั้ง ก็จะเห็นกลิตเตอร์น่ารักๆ
4.ตกแต่ง Blog ให้สวยงามแล้วคลิกปุ่ม “บันทึก” ก็เสร็จเรียบร้อยค่ะ

วิธีแรก ปรับให้หัวข้อเรื่อง หรือ keyword มาก่อน description ตรง title bar
1. ไปที่ Layout -> Edit HTML
2. หา
3. แทนที่ด้วย code

ทำภาพสไลด์โชว์รูปสวยๆ ใส่บล็อก ด้วยเว็บ slide.com
เมื่อเข้าไปหน้าแรกแล้วจะเห็นปุ่ม browse
ให้ คลิกปุ่ม browse เลือกรูปของเรา แล้วก็เลือก skins เลือก themes ,effects ต่างๆเยอะแยะ และสามารถเอาเพลงใส่ได้ด้วย เมื่อเลือกตกแต่งจนพอใจแล้ว ก็จะได้โค๊ดมา ให้เอาโค๊ดนั้นไปใส่ในบล็อก

วิธีใส่เพลงในบล็อก
ถ้าเราต้องการจะใส่เพลงใน entryปรับหน้า ให้สามารถใช้ Code Html ก่อน
แล้วจึงนำ Code… ต่อไปนี้ ใส่ไปครับ